4. 5 โครงการชุมนุมนักดนตรีคาทอลิก ครั้งที่ 6

สรุปภาพ งานชุมนุมนักดนตรี ครั้งที่ 6 วันที่ 7-8 กค.2009 ณ บ้านพักอิ่มอุ่น อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

 

สรุปโครงการ 

 

ชุมนุมนักดนตรี  ครั้งที่ 6 

 

 

จัดโดย

 

แผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์ ระดับชาติ

 

ระหว่างวันอังคารที่ 7 – วันพุธที่ 8 กรกฎาคม  2552

 

ณ บ้านพักอิ่มอุ่น  อัมพวา  จ.สมุทรสาคร

 

สรุปเนื้อหา

วันที่ 7 กรกฎาคม 2552

 

10.00 น.       วจนพิธีกรรมเปิด   โดย  คุณพ่อเสนอ   ดำเนินสดวก

 

10.20 น.       แนะนำตัว / แบ่งปันประสบการณ์

             –     คุณวินัย  มณีขาว  : เป็นผู้เล่นออร์แกนในวัด  ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนเปียโนที่โรงเรียนบางกอกพัฒนา

             –     คุณอดิศักดิ์  เอ็ม.คาราอัน : เป็นนักแต่งเพลง นักพากษ์ที่ True vision

             –     คุณศิรารัตน์  สุขชัย  :  เป็นอาจารย์ประจำคณะดนตรีที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ  ขณะนี้กำลังศึกษาปริญญาโท ด้านดนตรีศึกษา จุฬาฯ   และสอนร้องเพลงประสานเสียงอยู่วง Siam harmony

             –     คุณพรเทพ  วิชชุชัยชาญ :   เคยทำโรงเรียนดนตรี Yamaha , มีฟ้า , Cresscendo  เป็นนักขับที่กาลหว่าร์   ขณะนี้ ทำวงประสานเสียงให้กับวงต่าง ๆ  และเป็นคณะกรรมการของดนตรีศักดิ์สิทธิ์ ฯ

             –     คุณกิตติพงษ์   ธวัชวงษ์  :  ทำงานที่ศูนย์สังฆมณฑลราชบุรี  ด้านสื่อมวลชน  เคยเล่นดนตรี อยู่ห้องอัด และเป็น Conductor ของบ้านเณรแสงธรรม

             –     คุณพ่อเสกสรร   สมศรี  :  อยู่สังฆมณฑลอุบลราชธานี  เคยอยู่ห้องอัดเสียงที่บ้านเณรแสงธรรม

             –     คุณนิมิตร    ฤทธิปัญญา :  เรียนรู้การอ่าน  เขียนโน้ต และแต่งเพลงจากบ้านเณร  ปัจจุบัน สังกัดหน่วยงานประกาศพระวรสารของมิสซังราชบุรี  แต่งเพลงให้หน่วยงานประกาศพระวรสารสู่ปวงชนและ เพลงแนวลูกทุ่งสำหรับใช้ในพิธีกรรม

             –     คุณพ่อเสนอ   ดำเนินสดวก  :  เป็นผู้สนใจแต่งเพลงตั้งแต่บ้านเณรเล็ก  คุณพ่อสมบูรณ์ เป็นผู้สอน  ซึ่งเป็นแนวเพลงเกรโกรเรียน เพลงแรกที่แต่ง  คือ เพลงน้อมเกล้าสดุดี  เป็นคณะกรรมการดนตรีชุดแรก ในสมัยคุณพ่อสำราญ  , อาจารย์ดนู  ,  อาจารย์ประคิณ  ,คุณพ่อสุทศ  และปัจจุบัน เป็นคณะกรรมการดนตรีศักดิ์สิทธิ์

             –     คุณฉัตรชัย  สุรีย์ส่อง  : เล่นดนตรีในวัดสมัยเป็นเณร  เคยเล่นออร์แกนที่วัดเซนต์หลุยส์  ปัจจุบันเป็นผู้นำในการซ้อมขับร้อง ที่วัดนักบุญเปโตร สามพราน  และช่วยงานที่วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

             –     คุณวีระพงศ์    ทวีศักดิ์  :  สอนดนตรีในเรือนจำ  เล่นดนตรีแก้ว เพื่อเป็นการแพร่ธรรม

          –      คุณสมมิตร คงมั่นประกายกิจ :  เป็นที่ปรึกษาของคณะอนุกรรมการดนตรี ฯ แสงธรรม และมิสซังราชบุรี   ทำงานบริษัทแกรมมี่ เรียบเรียงดนตรี และตามคอนเสริ์ต

             –     คุณธีรพงษ์    รักยินดี :  ช่วยทำดนตรีให้กับวิทยาลัยแสงธรรม  ทำงานกับคุณสมมิตร

          –      คุณพ่อวีระเทพ   วาทนเสรี  :  แต่งเพลงให้กับวิทยาลัยแสงธรรม  ปัจจุบัน อยู่ที่วัดนักบุญอันตน  โคกมดตะนอย  และทำวงขับร้อง  40  คน

 

 

13.40  น.      พูดคุยถึงเรื่องการแต่งเพลง

          คุณวีระพงศ์  กล่าวว่า  การมาชุมนุมครั้งนี้  ควรมีผลงานบางอย่างออกมา ซึ่งได้เตรียมเนื้อหาบทสดุดีมาให้กับทุกคน

คุณพ่อเสนอ กล่าวว่า  บทสดุดี เป็นบทที่จะใช้ขับร้องหลังจากบทอ่านที่ 1  ซึ่งในปัจจุบันยังมีบทเพลงประเภทนี้น้อย

คุณสมมิตร  กล่าวว่า  วิธีการแต่งเพลงสดุดี  คือ ให้เราอ่านเนื้อหาทั้งหมดก่อน แล้วพิจารณาว่าได้อะไรจากบทนั้น แล้วค่อยแต่งออกมา

คุณอดิศักดิ์  กล่าวว่า  บทเพลงในพิธีกรรมปัจจุบัน ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน  จึงส่งผลให้ การแต่งเพลงที่จะเกิดขึ้นใหม่ไม่รู้ว่าจะไปทิศทางใด ซึ่งหน่วยงานดนตรีศักดิ์สิทธิ์ฯ ควรที่จะกำหนดให้ชัดเจน

คุณพ่อเสนอ กล่าวว่า  เท่าที่ทำได้  คือ เน้นบทเพลงที่ถูกต้องตามเนื้อหา มีทำนองที่เหมาะสม

คุณวีระพงศ์  กล่าวว่า  ในแง่ของดนตรี  พูดยากว่าอะไรผิด อะไรถูก  พัฒนาการของดนตรีศักดิ์สิทธิ์ในแต่ละยุค ก็จะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน  สิ่งที่คณะกรรมการฯ พยายามทำ คือ การให้คำแนะนำในการใช้เพลงให้เหมาะสม  ซึ่งได้จัดทำเอกสารคำแนะนำและแนวทางปฏิบัติดนตรีในพิธีกรรมฯ  ซึ่งไม่ได้กำหนดรูปแบบของเพลงที่แน่นอน  แต่เน้นเพลงที่ทำให้สัตบุรุษได้สรรเสริญพระเจ้า

คุณสมมิตร  กล่าวว่า  ถ้าพูดถึงดนตรีศักดิ์สิทธิ์  คนจะนึกถึงเพลงเกรโกรเรียน  ซึ่งอาจแยกได้ 2 ประเภท คือ บทเพลงที่ใช้ในพิธีกรรม และ บทเพลงบำรุงความศรัทธา

คุณพรเทพ  กล่าวว่า  เคยมีผู้ส่งเพลงที่แต่ง เข้ามาให้คณะกรรมการพิจารณา  ซึ่งเราจะดูทั้ง 3 ด้าน คือ  คำร้อง  ทำนองและด้านเทววิทยา

คุณวินัย  เสนอว่า  ขอให้ลง  “เอกสารคำแนะนำ ฯ”  ใน Website

คุณศิรารัตน์  เสนอว่า ควรแจกเอกสารคำแนะนำฯ ให้กับทุกวัด เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์

คุณวีระพงศ์  กล่าวว่า   คณะกรรมการดนตรีศักดิ์สิทธิ์ ต้องการบุคลากรที่มีคุณวุฒิเพิ่ม หากท่านใดสนใจ หรือมีข้อเสนอแนะ สามารถติดต่อคณะกรรมการได้

 

20.00  น.      นำเสนอผลงาน  / พูดคุย

          คุณอดิศักดิ์  นำเสนอ  ทำนองเพลงที่ได้ประพันธ์ไว้ เปิดให้ทุกท่านฟัง

          คุณสมมิตร  กล่าวว่า  เคยคิดว่า  การแต่งเพลงต้องแต่งเนื้อร้องก่อน  แต่เมื่อได้ฟังทำนองเพลงตอนนี้แล้ว คิดว่าไม่จำเป็น  เพราะสามารถทำให้คิดคำร้องได้

          คุณพ่อเสนอ  สอบถามว่า  คำสัมผัสของเพลงจะมีตรงที่ใดบ้าง เพราะในสมัยก่อน การแต่งเพลงจะยึดการสัมผัสแบบกลอน 8  ซึ่งในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีการสัมผัส

          คุณอดิศักดิ์ กล่าวว่า  โครงสร้างของกลอน และประโยคของดนตรี  จะเหมือนกัน

          คุณพรเทพ  กล่าวว่า  ถ้าคำร้องมาจากกลอน 8  จะทำให้เพลงมีทำนองที่คล้าย ๆ กันหมด  ไม่มีความแตกต่างกัน

          คุณอดิศักดิ์  เสนอว่า  ควรวางทิศทางให้กับนักแต่งเพลงรุ่นใหม่

          คุณวีระพงศ์  เสนอว่า  ควรมอบหมายการแต่งเพลงให้เป็นรายบุคคล

          คุณอดิศักดิ์ กล่าวว่า  คนทำดนตรี ต้องมีความเข้าใจ และยืดหยุ่น  และต้องร่วมมือกับคนเขียนเนื้อเพลง คณะกรรมการฯ ควรเปิดกว้างเพื่อหาบุคลากรมาช่วยในการทำดนตรีศักดิ์สิทธิ์ให้มากขึ้น

          คุณวีระพงศ์  กล่าวว่า  แผนกดนตรีฯ  มีโครงการวันมหกรรมดนตรีศักดิ์สิทธิ์  วันที่ 19  กันยายน 2552  นี้  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักขับ นักดนตรีระดับวัด มาพบกัน และใช้เวลาในการพัฒนาคุณภาพของดนตรี  จึงขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมเป็นวิทยากรในกิจกรรมครั้งนี้ด้วย

 

 

 

วันที่ 8 กรกฎาคม 2552

 

08.30 น.       พูดคุยแนวทางในอนาคต

คุณอดิศักดิ์  กล่าวว่า  การแต่งเพลง ควรคำนึงถึงคนร้องว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย เพราะเพลงที่ ผู้แต่งเป็นผู้ชาย  จะทำให้ผู้หญิงร้องลำบาก

          คุณพ่อเสกสรร  กล่าวว่า  อยากจะพัฒนาดนตรีของสังฆมณฑล  รวมทั้งทัศนคติของพระสงฆ์ที่มิสซังด้วย  เพราะไม่มีบุคลากรและไม่มีความสามารถ หวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากส่วนกลาง  และอยากเชิญให้วิทยากรไปทุกสังฆมณฑล  เพราะที่ผ่านมาจะจัดโครงการต่าง ๆ เฉพาะบริเวณกรุงเทพ 

          คุณอดิศักดิ์  กล่าวว่า  Midi เพลงที่ผมจัดทำ คุณสมชาย  ธาดาประทีป เป็นผู้ร่วมงาน  ซึ่งหลายวัดได้นำไปเปิดใช้   ซึ่งบรรยากาศในมิสซา เราสามารถเล่นกีตาร์เพียงตัวเดียวกับคนร้องไม่กี่คนก็ได้  ในการพิจารณาบทเพลงที่ส่งเข้ามา  ควรมีผู้รับผิดชอบเป็นรายบุคคล  เช่น  พิจารณาบทเพลงกีรีเอ  ,กลอรีอา  ฯลฯ  ไม่ใช่เป็นกลุ่ม

คุณกิตติพงษ์   นำเสนอ  ทำนองบทเพลงกีรีเอ  ที่แต่งขึ้น ให้ทุกท่านได้ฟัง 

          คุณพ่อเสนอ กล่าวว่า  อยากให้มีการรวมตัวกันของนักดนตรีคาทอลิก  เพราะบางคน ยังไม่เคยพบปะกันมาก่อน

          คุณวีระพงศ์  กล่าวว่า  อาจจัดตั้งเป็นชมรม เริ่มจาก 3 – 4 คน  แล้ววางกำหนดรูปแบบในการประชุมครั้งต่อไป

          คุณฉัตรชัย  กล่าวว่า  ยังมีบุคลากรด้านดนตรีอีกมากในแต่ละวัดที่มีจิตตารมณ์อยากจะช่วยงาน  ซึ่งถ้าสามารถรวบรวมได้จะดี  ในการประชุมครั้งหน้า อาจจะเชิญนักดนตรี นักแต่งเพลง วัดละ 1 คน มาร่วมชุมนุม

          คุณอดิศักดิ์  เสนอว่า  ควรมีการฝึกอบรมให้ความรู้เฉพาะผู้นำนักดนตรีของแต่ละวัด เพื่อจะได้นำกลับไปสอนที่วัดของตน

          คุณสมมิตร  เสนอว่า  ควรมีการทำ  Web board  ใน  Website  ของแผนกดนตรีฯ

 

 

11.00  น.  มิสซาบูชาขอบพระคุณ  โดย คุณพ่อเสนอ  ดำเนินสดวก

 

 

           

         

สรุปการประเมินผล 

จากผู้ประเมินทั้งสิ้น 14 ท่าน

 

 

1.  การประชาสัมพันธ์โครงการ

ดีมาก            5        ท่าน  คิดเป็นร้อยละ    35.71

ดี                 7        ท่าน  คิดเป็นร้อยละ    50.00

ปานกลาง       2        ท่าน  คิดเป็นร้อยละ    14.29

 

2.  เนื้อหาของการชุมนุม

ดีมาก            7        ท่าน  คิดเป็นร้อยละ    50.00

ดี                 7        ท่าน  คิดเป็นร้อยละ    50.00

 

3.  สถานที่พัก

ดีมาก            7        ท่าน  คิดเป็นร้อยละ    50.00

ดี                 7        ท่าน  คิดเป็นร้อยละ    50.00

 

4.  วันและเวลาสัมมนา

ดีมาก            4        ท่าน  คิดเป็นร้อยละ    28.57

ดี                 9        ท่าน  คิดเป็นร้อยละ    64.28

ปานกลาง       1        ท่าน  คิดเป็นร้อยละ     07.15

 

5.  ในการจัดครั้งต่อไป ควรมีการสัมมนาในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

–      เรื่องเทคนิค และพัฒนาการของดนตรีในปัจจุบัน

–      แนวทางที่ควรจะเป็น สำหรับดนตรีศักดิ์สิทธิ์ในประเทศไทย

–      การประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในกลุ่มนักดนตรีคาทอลิก

 

6.  ข้อเสนอแนะ

–      อยากให้บุคลากรจากทุกสังฆมณฑล (ทั่วประเทศ)  มาร่วมมากกว่านี้  เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีประโยชน์

–      ควรให้ข้อมูลความเป็นมาของโครงการกับสมาชิกใหม่

LineDance

หลักการและเหตุผล

ตามที่สมณกระทรวงพิธีกรรมได้แนะนำไว้ว่า “คณะกรรมการดนตรีศักดิ์สิทธิ์ระดับสังฆมณฑลมีส่วนช่วยส่งเสริมงานดนตรีศักดิ์สิทธิ์ ร่วมกับงานอภิบาลด้านพิธีกรรมในสังฆมณฑลเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นในแต่ละ สังฆมณฑล จึงควรมีคณะกรรมการดนตรีศักดิ์สิทธิ์เท่าที่จะเป็นไปได้ และควรจะร่วมมือกับคณะกรรมการพิธีกรรมของสังฆมณฑล และยังมีข้อแนะนำอีกว่าควรอย่างยิ่งที่สังฆมณฑลต่างๆ ในภูมิภาคเดียวกันจะจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นอีกชุดหนึ่งเพื่อวางแผนงานร่วมกันและรวมพลังกันได้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น” (ดนตรีศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม ข้อที่ 5)    

คณะกรรมการดนตรีศักดิ์สิทธิ์ระดับชาติ จึงริเริ่มโครงการรวบรวมบุคลากรด้านดนตรีศักดิ์สิทธิ์ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น โดยได้จัดให้มีการชุมนุมนักดนตรีมาแล้ว 5 ครั้ง ในเขตสังฆมณฑลจันทบุรี, สังฆมณฑลราชบุรี , เขตสังฆมณฑล 4 อีสาน , บ้านผู้หว่าน และบ้านเณรแสงธรรม

ทั้งนี้ เพื่อทำให้เกิดการพัฒนางานด้านดนตรีศักดิ์สิทธิ์ในระดับต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจ ระหว่างพระสงฆ์ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับดนตรี และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี รวมถึงอาจารย์ที่สอนดนตรี เพื่อสร้างสรรค์ผลงานในระดับท้องถิ่นร่วมกัน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ด้านดนตรีศักดิ์สิทธิ์  ได้แลกเปลี่ยนและศึกษาผลงานด้านดนตรีศักดิ์สิทธิ์ร่วมกัน
  2. เพื่อรวบรวมบุคลากรด้านดนตรีศักดิ์สิทธิ์ในระดับสังฆมณฑลและระดับชาติ
  3. เพื่อฆราวาสที่มีความสามารถด้านดนตรี  จะได้ร่วมมือร่วมใจกัน   สร้างสรรค์ผลงานดนตรีศักดิ์สิทธิ์ใน พระศาสนจักรไทย

ผู้รับผิดชอบโครงการ

แผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์ ระดับชาติ

กลุ่มเป้าหมาย

  1. พระสงฆ์ผู้รับผิดชอบงานด้านดนตรีศักดิ์สิทธิ์ในระดับชาติและระดับสังฆมณฑล
  2. พระสงฆ์ที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับดนตรีศักดิ์สิทธิ์
  3. บุคลากรผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานดนตรีศักดิ์สิทธิ์ (ผู้เชี่ยวชาญ, ผู้ประกอบอาชีพและทำธุรกิจเกี่ยวกับงานด้านดนตรี, อาจารย์สอนดนตรี)

ระยะเวลา

วันอังคารที่ 7 – วันพุธที่ 8 กรกฏาคม 2009

 

สถานที่  

     …………………………………………….