4.11 โครงการหลักสูตรการเรียนร้องเพลงและทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น

 

สรุปเนื้อหา

 

สัปดาห์ที่ 1  วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน 2552 

 

สถานที่เรียน :   อาคารคาทอลิกแพร่ธรรม 

ผู้เรียนทั้งสิ้น     44  ท่าน

 

วจนพิธีกรรมเปิด  โดย  คุณพ่อสมเกียรติ  บุญอนันตบุตร

 

เรียนการร้องเพลง  โดย  อาจารย์ ศิรารัตน์     สุขชัย

ฝึกออกเสียงตามตัวโน้ต /  การออกเสียงคำที่มีพยัญชนะ  จ ส ช  /  ฝึกการหายใจเมื่อจบประโยคเพลง

ฝึกออกเสียงคำที่มีตัวสะกด  ม ง น ด ย บ  / ฝึกการเอื้อนคำ  /  ฝึกการออกโน้ตเสียงสูง /  ฝึกขับร้องเพลง  “จากดวงใจสู่พระแท่น”

เรียนบรรทัด 5 เส้น / กุญแจซอลและฟา / เครื่องหมายกำหนดจังหวะ / ค่าของตัวโน้ต  / การอ่านโน้ต

ฝึกเขียนกุญแจประจำหลัก และตัวโน้ต /  ทดสอบการฟังเสียงโน้ต /  ฝึกตบมือและออกเสียงตามจังหวะตัวโน้ต

ฝึกการอ่านโน้ตเพลง  “จากดวงใจสู่พระแท่น”

 

 

สัปดาห์ที่ 2  วันอาทิตย์ที่  14 มิถุนายน 2552

 

ฝึกการออกเสียงระดับ  Chest Tone , Mouth Tone , Head Tone , Registers , Dynamics

และตาม  key signature   / ทบทวนบทเพลง  “จากดวงใจ…สู่พระแท่น”   และเรียนบทเพลง  “พระสิริมงคล”

 เรียนทฤษฎีดนตรี  โดย  อ.พรเทพ    วิชชุชัยชาญ

เรียนการอ่านโน้ตบทเพลง “จากดวงใจ…สู่พระแท่น”  , “ธารชีวิต” และ “ทาสความรัก”  / ฝึกการร้องโน้ตในขั้นคู่ต่าง ๆ  ,  อ่านโน้ตแบบประสานเสียง  / สอนอ่านโน้ตบทเพลง  “พระสิริมงคล”

 

สัปดาห์ที่ 3  วันอาทิตย์ที่  21  มิถุนายน 2552

 

ฝึกการหายใจ และบริหารกล้ามเนื้อ  /  ฝึกออกเสียงยาว 4 จังหวะ  , 8 จังหวะ , 12 จังหวะ / Dynamics  ต่าง ๆ / staccato , accent  /  สอนร้องประสานเสียงบทเพลง  สิริรุ่งโรจน์  / แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 6 กลุ่ม เพื่อร้องเพลงประสานเสียง 2 เสียง ดังนี้

1.เพลง “ถวายเครื่องบูชา”

2. เพลง “ขอรับใช้”

3. เพลง “พระสัญญา”

4. เพลง “พระสิริมงคล”

5. เพลง “สวรรค์ ณ แผ่นดิน”

6. เพลง “จากดวงใจ…สู่พระแท่น”

  

 

สัปดาห์ที่ 4  วันอาทิตย์ที่  28  มิถุนายน 2552

 

  

          เรียนเรื่อง Scale  ของ Key signature ต่าง ๆ  เช่น  Key C , G , D , A , F , Bb , Eb , Ab   ฯลฯ

และฝึกเขียนโน้ตตาม  Scale   นั้น ๆ

เรียนชื่อของตัวโน้ตตามลำดับขั้น

Tonic 

super tonic

mediant

sub dominant  

dominant  

sub mediant

leading note

ฝึกการร้องโน้ตเพลง ตามชีทแบบฝึกหัด

ฝึกการร้องโน้ต แบบ move Do  โดยใช้บทเพลง สวรรค์ ณ แผ่นดิน

  

 

สัปดาห์ที่ 5  วันอาทิตย์ที่  5  กรกฎาคม  2552

 

  

บริหารร่างกาย  (ใบหน้า, คิ้ว, ตา, แก้ม, ปาก, ลิ้น และ กล้ามเนื้อรอบปาก) ฝึกลมหายใจ

ให้ผู้เรียนเสนอแนะการ warm เสียง โดยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

– อา เอ อี โอ อู  โดยใช้โน้ตเสียง  โด มี ซอล มี โด

– ออกเสียง อา  โดยดู  Dynamic  จาก  Conductor

– ร้อง โด เร มี  โดยการย้ำตัวโน้ต เช่น  โด โด โด โด เร เร เร เร มี มี มี มี….

– ออกเสียง  วา วา วา วา วา วา….

– ออกเสียงโดต่ำ และ โดสูง  โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มร้องพร้อมกัน

– ออกเสียง ฮา  โน้ต โด เร มี ฟา ซอล และออกเสียง ฮะ โน้ต ซอล ฟา มี เร โด

– ร้องแบบข้ามโน้ต เช่น โด มี เร ฟา มี ซอล ฟา ลา ซอล ที ลา โด

– โฟกัสเสียงไปข้างหลัง และมาข้างหน้า

– ฝึกร้องตาม Scale

– ฝึกร้องตามขั้นคู่ เช่น โด เร โด มี  โด ฟา โด ซอล……

– ฝึกร้อง โน้ตละ 4 จังหวะ 2 จังหวะ 1 จังหวะ

–  ฝึกร้องเพลง If we hold on together  พร้อมกัน 

ฝึกร้องเพลงตามกลุ่ม  แบบ  Move  Do   / เรียนเรื่อง  Chromatic  Scale  และฝึกออกเสียง

          ตามตัวโน้ต  /  เรียนเรื่องขั้นคู่  Major  Minor  Augmented  Diminish

  

  

 

สัปดาห์ที่ 6  วันอาทิตย์ที่  12  กรกฎาคม  2552

 

ฝึกกำหนดลมหายใจ / ร้อง มา มี เม โม มู ตามบันไดเสียง  / ร้อง ยา อี ยา อี ยา อี ยา / ฝึก

ร้องจากโน้ตเสียงสูงมาต่ำ  เช่น  ซอล ฟา มี เร โด 

แนะนำการร้อง โดยการร้องซ้ำ ๆ ในช่วงเพลงที่ร้องไม่ได้   และการร้องเพลงหมู่ควรมี 3 อย่าง

คือ Tone , Articulation  และ phrasing idea

ฝึกขับร้องเพลง ด้วยใจรัก , พักพิงในพระเจ้า , พระสัญญา และ ลูกมอบดวงใจ

ฝึกการ  Conduct  ตามเครื่องหมายกำหนดจังหวะต่าง ๆ เช่น 4/4 , 3/4 , 9/8, 2/4 ,

2/2 , 6/8 เป็นต้น

  

  

 

สัปดาห์ที่ 7  วันอาทิตย์ที่  19  กรกฎาคม  2552

 

ฝึกออกเสียงในลักษณะต่าง ๆ /  ออกเสียงเป็นคำ / ตามบันไดเสียง / เสียงดัง – เบา / ใส่คำ

Where shall I  go today?    สรุปเนื้อหาบทเรียนต่าง ๆ ดังนี้

–         ท่าทางการยืนร้องเพลง หน้าตรง หลังตรง  ไหล่ไม่ยก

–         การหายใจ ให้ออกมาจากปอด

–         เสียงมี 3 ระดับ คือ ช่วงอก เสียงต่ำ / เสียงพูด อยู่ที่ปาก / เสียงสมอง

–         การร้องเพลงให้จบประโยคเพลง

–         การร้องเอื้อน ควรร้องให้มีความหมายคงเดิม

 

ฝึกร้องเพลงตามกลุ่ม  / ฝึก Conducting

  

  

 

สัปดาห์ที่ 8  วันอาทิตย์ที่  26  กรกฎาคม  2552

 

แสดงผลงานการร้องเพลง รุ่นที่ 1  ทั้งหมด 6 กลุ่ม

  

  

  

  

  

  

  

สรุปการประเมินผล 

จากผู้ประเมินทั้งสิ้น  40 ท่าน 

 

1.การประชาสัมพันธ์โครงการ

                   ดีมาก                      11      ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   27.50

          ดี                           22      ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   55.00

          ปานกลาง                 6       ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   15.00

          ควรปรับปรุง              1       ท่าน    คิดเป็นร้อยละ    02.50

ความคิดเห็น 

          – ควรประชาสัมพันธ์ไปตามวัดทุกวัด เพราะคนต่างสังฆมณฑลจะรู้เมื่ออ่านอุดมสารเท่านั้น

 

2.เนื้อหาบทเรียน ของ การเรียนร้องเพลง

                   ดีมาก                      17      ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   42.50

          ดี                           18      ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   45.00

          ปานกลาง                 5       ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   12.50

ความคิดเห็น 

          – ยากมากสำหรับการสอนคนที่มีระดับอายุต่างกันและคนที่ไม่มีพื้นฐานการอ่านโน้ต

          – ควรมีสื่อ หรือ ชีท ประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้น

          – เนื้อหาที่เรียนดี ได้ฝึกและแก้ไขส่วนที่บกพร่อง เช่น การหายใจ การฝึก Dynamic ต่าง ๆ

 

3.เนื้อหาบทเรียน ของ การเรียนทฤษฎีดนตรี

                   ดีมาก                      15      ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   37.50

          ดี                           20      ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   50.00

          ปานกลาง                 5       ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   12.50

ความคิดเห็น 

          – ขอเอกสารสรุปเพิ่มเติม เป็นภาษาไทย

          – ควรให้คำแนะนำเป็นพิเศษ สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานตัวโน้ต

          – ยากเกินไป และรวบรัดเกินไป ควรค่อย ๆ สอนให้ครบ 7 สัปดาห์

          – อยากปฏิบัติให้มากกว่านี้ และมีแบบฝึกหัด

         

4.อาจารย์ผู้สอน

                   ดีมาก                      34      ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   85.00

          ดี                           5       ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   12.50

          ปานกลาง                 1       ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   02.50

 

 

 

5. สถานที่เรียน

                   ดีมาก                      10      ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   25.00

          ดี                           26      ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   65.00

          ปานกลาง                 3       ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   07.50

          ควรปรับปรุง              1       ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   02.50

 

6. วันและเวลาเรียน

                   ดีมาก                      11      ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   27.50

          ดี                           22      ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   55.00

          ปานกลาง                 6       ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   15.00

          ควรปรับปรุง              1       ท่าน    คิดเป็นร้อยละ   02.50

ข้อเสนอ 

          – ควรเลิกประมาณ 17.00 น.

          – อยากให้เปลี่ยนเป็นวันเสาร์  9.00 – 13.00 น.

 

7. ควรเปิดสอนหลักสูตรต่าง ๆดังนี้

          – การเป่าเมาท์ออร์แกน และขลุ่ย

          – การอ่านโน้ตเบื้องต้น

          – การประสานเสียง 4 แนว และ Conducting

          – ดนตรีในพิธีกรรม  

– การแต่งเพลง

          – เพลงลาติน / เกรโกเรียน

 

LineDance

หลักการและเหตุผล

พระศาสนจักรถือว่าดนตรีศักดิ์สิทธิ์เป็นขุมทรัพย์อันล้ำค่าสุดประมาณ มีคุณค่าเหนือศิลปะอื่นใด ควรมีการอนุรักษ์และส่งเสริมด้วยความเอาใจใส่ ฉะนั้น การส่งเสริมให้บุคลากรในพระศาสนจักรได้เรียนรู้และฝึกหัดดนตรีศักดิ์สิทธิ์จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก พระศาสนจักรได้แนะนำไว้ว่า “ควรให้ความสำคัญมาก ๆ ต่อการสอนและฝึกซ้อมดนตรีในสามเณราลัย นวกสถาน และบ้านอบรมชีวิตนักบวชทั้งชายและหญิง รวมทั้งในสถาบันการศึกษาและโรงเรียนคาทอลิกทั้งหลายด้วย”   (ดนตรีศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม ข้อที่ 52)    

แผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์ฯ เห็นว่าบุคลากรในพระศาสนจักร มีบทบาทสำคัญต่องานด้านดนตรีในพิธีกรรม  จึงควรสนับสนุนให้ทุกคนได้เรียนรู้ความสำคัญของดนตรีในพิธีกรรม และเพิ่มทักษะความสามารถด้านดนตรีสากลด้วย

 

วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้ด้านดนตรีศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม แก่ชาวคาทอลิก

ผู้รับผิดชอบ                 แผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์  โดย อ.พรเทพ   วิชชุชัยชาญ 

กลุ่มเป้าหมาย               นักขับร้องตามวัด และคริสตชนที่สนใจทั่วไป

 

วิชาที่เปิดสอน                 การขับร้องและ ทฤษฏีดนตรีสากล

 

สถานที่                                                อาคารคาทอลิกแพร่ธรรม

 

ระยะเวลา                           วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน  –  26 กรกฎาคม  2009

ใส่ความเห็น